กระดาษเขียนแบบ ใช้ทำอะไร เลือกยังไง

กระดาษเขียนแบบ ใช้ทำอะไร เลือกยังไง

กระดาษเขียนแบบ ใช้ทำอะไร เลือกยังไง

หากพูดถึง ‘การเขียนแบบ’ เชื่อว่า หลายท่านคงจะนึกถึงภาพกระดาษแผ่นหนึ่งที่มีการร่างแบบเอาไว้ใช้เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการปฏิบัติงานสำหรับนักออกแบบทุกสาขา ไม่ว่าจะสถาปนิก วิศวกร มัณฑนากร หรืออื่นๆ ให้เกิดการสื่อสารระหว่างความต้องการของลูกค้าไปยังสายการผลิตได้ถูกต้องตามใจต้องการ แต่รู้หรือไม่ว่า การเขียนแบบมีความสำคัญมากกว่านั้น และจำเป็นต้องเลือกประเภทกระดาษ ที่ ใช้ เขียน แบบให้เหมาะสมกับการใช้งานด้วย แต่กระดาษ ที่ ใช้ ใน การ เขียน แบบ ใช้ทำอะไรและต้องเลือกยังไงบ้าง สามารถติดตามได้ในบทความนี้

กระดาษเขียนแบบ คืออะไร

กระดาษ เขียน แบบ (Drafting Paper) คือ กระดาษสำหรับใช้วาดทางเทคนิค เพื่อถ่ายทอดความคิดให้เกิดการปฏิบัติงานได้แบบเป็นระเบียบแบบแผน และเข้าใจได้ง่ายมากขึ้นเสมือนกับเป็นภาษาสากลไว้สื่อสารในการทำงานจากลูกค้าไปยังผู้ออกแบบแล้วส่งต่อไปยังผู้ทำงานท่านอื่น ตามปกติแล้วกระดาษ ที่ ใช้ ใน การ เขียน แบบมีให้เลือกหลายแบบและหลายขนาดตามความต้องการของสถาปนิก วิศวกร หรือใครก็ตามที่ต้องการนำไปใช้เขียนแบบทางเทคนิค

ความสำคัญของ การใช้กระดาษเขียนแบบ

ปกติแล้ว กระดาษเขียนแบบมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในงานช่างอุตสาหกรรมและการก่อสร้างต่างๆ ถึงขั้นถ้าไม่มีการเขียนแบบให้เรียบร้อยก็อาจไม่สามารถเริ่มต้นดำเนินงานจนเสร็จลุล่วงได้ ซึ่งความสำคัญของ กระดาษเขียนแบบ มีดังนี้

1) บันทึกความคิดไว้ใช้งานในภายหลัง

ไม่ว่าสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญร่างลงไปบนกระดาษเขียนแบบจะมีโอกาสได้นำไปใช้งานจริงหรือไม่ แต่อย่างน้อยกระดาษเขียนแบบเหล่านี้จะช่วยบันทึกไว้เสมือนสมุดจดบันทึกให้คุณไม่หลงลืมแล้วนำไปใช้เป็นไอเดียต่อยอดการทำงานในภายหลังได้

2) วางแผนก่อนเริ่มทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเขียนแบบเป็นการแสดงให้เห็นถึงภาพต้นแบบของผลงาน เพื่อให้แต่ละภาคส่วนสามารถทำงานได้ตรงตามแบบที่ร่างไว้ เพราะงั้นการเขียนแบบเลยเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนก่อนเริ่มทำงาน เพื่อให้สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด

3) ใช้เป็นภาษาสากลให้การทำงานแต่ละฝ่ายเข้าใจได้ตรงกัน

เคยสังเกตกันไหม? ในแต่ละสาขาอาชีพจะมีภาษาหรือคำเรียกแปลกๆ ที่สาขาอื่นอาจไม่เข้าใจ แต่การจะทำงานร่วมกันจำเป็นต้องมีการสื่อสารให้เข้าใจกันกระดาษเขียนแบบนี่แหละเลยเป็นเหมือนภาษาสากลให้ทุกคนที่ต้องทำงานร่วมกันสามารถเข้าใจรูปร่าง ขนาด ลักษณะของผิวงาน ชนิดของวัสดุ วิธีการและขั้นตอนการผลิตได้ตรงกัน โดยไม่จำเป็นต้องเคยศึกษาการเขียนแบบมาก่อนก็ได้

4) อุปกรณ์ทำงานราคาประหยัด

การใช้กระดาษเขียนแบบถือเป็นอุปกรณ์การทำงานราคาประหยัดที่สุด เพราะสิ่งที่คุณจำเป็นต้องนำมาใช้ทำงานแต่ละสิ่งล้วนไม่ใช่ของราคาแพง เช่น โต๊ะร่างหรือกระดานวาดภาพ ดินสอ/ยางลบ กระดาษ เขียน แบบ a3 เป็นต้น และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายรายปีแบบโปรแกรมบนเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ (ขณะเรียนหรือทำงานหลายคนก็มักจะใช้การเขียนแบบมากกว่าโปรแกรมเลยใช้งานถนัดกว่าด้วยล่ะ)

กระดาษเขียนแบบ ใช้ทำอะไร

สำหรับการใช้งานกระดาษ เขียน แบบ สามารถใช้งานได้หลากหลายตามประเภทและขนาดของกระดาษเขียนแบบ แต่โดยหลักแล้วมักจะใช้งาน 4 ประเภท ดังนี้

1) การเขียนแบบงานอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล (Engineering Drawing) เช่น

  • การเขียนแบบเครื่องกล (Machines Tool Drawing)
  • การเขียนแบบงานไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า (Electrical Electronic Drawing)
  • การเขียนแบบเครื่องยนต์ (Automotive Drawing)
  • การเขียนแบบแผนที่และสำรวจ (Map & Survey Drawing)
  • การเขียนแบบช่างกลและแผ่นโลหะ (Metal & Sheet Metal Drawing)

2) การเขียนแบบสำหรับออกแบบสถาปัตยกรรม (Architectural Drawing) เช่น

  • การเขียนแบบโครงสร้างของสถาปัตยกรรม (Structural Drawing)
  • การเขียนแบบรูปร่างและสัดส่วน (Shape & Proportion Drawing)
  • การเขียนแบบภาพตัด (Section Drawing)
  • การเขียนแบบร่าง (Sketching Drawing)

3) การเขียนแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อออกแบบและเข้าใจผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น (Product Drawing) เช่น

  • การเขียนแบบภาพฉาย (Orthographic Drawing)
  • การเขียนแบบภาพสามมิติ (Three Dimension Drawing)

4) การเขียนแบบสำหรับออกแบบตกแต่งภายใน (Interior Design Drawing) เช่น

  • การเขียนแบบเฟอร์นิเจอร์ (Furniture Drawing)
  • การเขียนแบบทัศนียภาพ (Perspective Drawing)

ถึงแม้ว่า เราจะเรียกการเขียนแบบเหมือนกัน แต่ประเภทกระดาษ ที่ ใช้ ใน การ เขียน แบบและขนาด กระดาษ เขียน แบบอาจไม่เหมือนกัน ผู้ใช้งานจำเป็นจะต้องเลือกกระดาษเขียนแบบให้ประเภทและขนาดเหมาะสมกับการใช้งานด้วย

 

ประเภทของกระดาษที่ใช้ในการเขียนแบบ

ก่อนจะไปดูวิธีการเลือกกระดาษเขียนแบบให้เหมาะกับการใช้งาน เราขอชวนมาดูประเภทของกระดาษที่ใช้ในการเขียนแบบกันก่อนว่า ในไทยนิยมใช้งานกระดาษเขียนแบบประเภทไหนบ้างและแต่ละประเภทมีจุดเด่นอย่างไร

  • กระดาษเขียนแบบตามการใช้งาน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 

1) กระดาษ ที่ ใช้ ใน การ เขียน แบบ ด้วยดินสอ ส่วนใหญ่จะเป็นกระดาษแบบวาดเขียน 80 – 100 ปอนด์ ผิวด้าน ไม่มัน เพื่อให้ใช้ดินสอร่างแบบได้ง่าย 

2) กระดาษ ที่ ใช้ ใน การ เขียน แบบ ด้วยหมึก กระดาษเขียนแบบประเภทนี้มักจะเป็นแบบเรียบ มัน และขาวขุ่นพอจะเห็นหมึกได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ส่วนใหญ่มักนิยมใช้กระดาษไข เพื่อนำไปใช้ในการถ่ายพิมพ์เขียว มีให้เลือกหลากหลายขนาดตามความต้องการตั้งแต่ กระดาษไขเขียนแบบ A4 ถึง A2 แถมยังมีหลายความหนา เช่น กระดาษไขคอม 90/95 88cmx50m*AOม้วน* กระดาษไขชนิดหนา ราคาสูงตามคุณภาพ และที่สำคัญหากเขียนแบบผิดพลาดก็สามารถขูดลบได้ โดยไม่ต้องกังวลรอยยับ เป็นต้น

  • กระดาษเขียนแบบตามลักษณะของกระดาษ แบ่งได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่

1) กระดาษปอนด์ : กระดาษวาดเขียนทั่วไป เนื้อไม่มันหรือลื่น สามารถใช้ดินสอร่างแบบได้ มีความหนาและขนาดให้เลือกหลากหลาย ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ 80 ปอนด์ และ 100 ปอนด์

2) กระดาษร่างทั่วไป : ลักษณะคล้ายกระดาษลอกลาย พอจะสามารถมองเห็นจากอีกฝั่งไปยังอีกฝั่งหนึ่งได้

3) กระดาษไข : ลักษณะกระดาษมีความเรียบลื่น รับหมึกได้ไม่ซึม มีความโปร่งเห็นภาพอีกฝั่งได้ สามารถใช้หมึกในการเขียนแบบได้ หากเลือกแบบขูดลบทำความสะอาดได้ยิ่งดี อย่างกระดาษไขคอม 90/95 88cmx50m*AOม้วน* แม้ราคาจะสูงกว่า แต่ตอบโจทย์การทำงานได้มากขึ้น

4) กระดาษโรเนียว : ลักษณะของกระดาษโรเนียวจะมีส่วนประกอบของกระดาษไขถูกออกแบบมาให้ฟูพร้อมรับหมึก ลดโอกาสการซึมเปื้อน ถ้านึกถึงกระดาษโรเนียวไม่ออกให้นึกถึงกระดาษข้อสอบสีน้ำตาล (กระดาษโรเนียว F4 70g 400p สีน้ำตาล) แต่หากจะเลือกเกรดดีมีความเรียบเนียนและหนา ทนทาน เหมาะกับการเขียนแบบจะนิยมใช้กระดาษโรเนียว A4 70g 400p มีให้เลือกทั้งแบบสีขาวและสีน้ำตาล

5) กระดาษพิมพ์เขียว Plotter : แม้จะชื่อกระดาษพิมพ์เขียว แต่ไม่ได้หมายความว่า สีกระดาษจะเป็นสีเขียว กระดาษเขียนแบบประเภทนี้มักจะเป็นสีฟ้า (blueprint) แต่สมัยก่อนกระดาษประเภทนี้สีออกฟ้าอมเขียวเขาเลยเรียกกัน กระดาษพิมพ์เขียว เป็นกระดาษเคลือบสารเคมีที่ไวต่อแสงเคลือบ สามารถใช้ได้กับทั้งการพิมพ์ตามกระดาษไขและพิมพ์ด้วยระบบดิจิทัล

เลือกกระดาษเขียนแบบยังไงให้เหมาะกับการใช้งาน

หลังจากทำความเข้าใจเกี่ยวกับ กระดาษ เขียน แบบ มาพอสมควรแล้ว จะเลือกกระดาษเขียนแบบยังไงให้เหมาะกับการใช้งาน บอกเลย “ง่ายนิดเดียว!” เพียงแค่พิจารณาตาม 3 ข้อ ดังนี้

1) ตั้งเป้าหมายจะนำกระดาษเขียนแบบไปใช้ทำอะไร

กระดาษเขียนแบบบางประเภทตอบโจทย์วัตถุประสงค์การใช้งานแตกต่างกัน บางแบบอาจเหมาะกับการร่างภาพ บางแบบอาจเหมาะกับการลอกลายไปต่อยอด และงานบางประเภทก็อาจต้องกำหนดประเภทกระดาษเขียนแบบโดยเฉพาะ

2) เลือกขนาดกระดาษให้ตอบโจทย์งาน

กระดาษเขียนแบบตามมาตรฐาน DIN 476 ได้กำหนดไว้ 7 ขนาด คือ A0, A1, A2, A3, A4, A5 และ A6 โดย A0 จะมีขนาดใหญ่สุดแล้วไล่เรียงไปถึง A6จะมีขนาดเล็กสุด ขนาดที่ได้รับความนิยมในการเขียนแบบปัจจุบันจะเป็นกระดาษขนาด A4 แต่หากมีรายละเอียดมากก็จะใช้ขนาดใหญ่กว่านั้น เช่น เขียนแบบทั่วไปใช้กระดาษไขเขียนแบบ A4 หากมีรายละเอียดมากขึ้นก็จะใช้กระดาษไขเขียนแบบ A3 หรือ กระดาษไขเขียนแบบ A2 เป็นต้น

3) ความหนาและพื้นผิวเหมาะกับเทคนิคเขียนแบบที่ใช้

อีกข้อสำคัญ อย่าลืมพิจารณาความหนาและพื้นผิวของกระดาษเขียนแบบให้เหมาะกับเทคนิคที่จะใช้ เช่น กระดาษบาง (ต่ำกว่า 90 g/m²) เหมาะสำหรับการสเก็ตช์ภาพ, ปานกลาง (สูงถึง 200 กรัม/ตร.ม.) ปรับใช้งานได้หลากหลาย และกระดาษเขียนแบบหนา (300 กรัมขึ้นไป) ออกแบบมาสำหรับเพิ่มความทนทานและใช้งานกับเครื่องมือได้หลากหลาย รวมถึงสีน้ำ เป็นต้น

เพราะการเขียนแบบไม่ได้อาศัยแค่เพียงความรู้และฝีมือของผู้เขียนแบบ แต่ยังจำเป็นต้องเลือกใช้อุปกรณ์เขียนแบบได้มาตรฐาน ดังนั้น อย่าลืมทำความเข้าใจกับ กระดาษ เขียน แบบ และเริ่มต้นใส่ใจตั้งแต่การเลือกกระดาษเขียนแบบให้เหมาะกับการใช้งานตามที่เรานำมาฝากในบทความนี้กัน

Main Menu