กระดาษไข (Tracing Paper) คืออะไร ไว้ใช้ทำอะไร

กระดาษไข (Tracing Paper) คืออะไร ไว้ใช้ทำอะไร

‘กระดาษไข’ ถือเป็นหนึ่งในกระดาษคุณสมบัติเฉพาะที่มีคนรู้จักและใช้งานบ่อยที่สุด เพราะจะสายออกแบบ สายช่าง สายแฟชั่น หรือแม้แต่สายทำอาหารก็ยังใช้กระดาษไข แต่หากได้ศึกษาจริงๆ แล้ว หลายคนอาจจะงงได้เลย เพราะคำว่า กระดาษไข แม้จะมีชื่อเรียกเป็นภาษาไทยเหมือนกัน แต่คุณสมบัติและวัตถุประสงค์ของกระดาษไขบางประเภทอาจไม่เหมือนกัน เพราะงั้นมาทำความเข้าใจเรื่อง กระดาษ ไข คืออะไร และมีไว้ใช้ทำอะไร ตามที่เรานำมาฝากในบทความนี้กัน

กระดาษไข คืออะไร

ปกติแล้วกระดาษไข คือ กระดาษที่ผ่านการอาบหรือเคลือบด้วยไขหลากหลายชนิด (แล้วแต่เกรดที่นำไปใช้งาน เช่น กระดาษไขแบบเครื่องเขียน และกระดาษไขแบบรองอาหาร เป็นต้น ทั้งวัสดุและวัตถุประสงค์ในการใช้กระดาษไขก็จะต่างกัน) มีคุณสมบัติเด่นคือ เป็นกระดาษมีความลื่น โปร่งแสงสามารถมองทะลุไปยังอีกฝั่งได้ และมีความทนทานสามารถป้องกันการดูดซับจากความชื้นของน้ำและไขมันได้

แต่สิ่งสำคัญที่คุณควรทำความเข้าใจคือ หลายคนมักสับสนระหว่าง กระดาษไข กับ กระดาษลอกลาย เพราะคนทั่วไปจะเข้าใจว่า เป็นสิ่งเดียวกัน แม้แต่เวลาเดินเข้าร้านเครื่องเขียน พอลูกค้าพูดว่า กระดาษไข เขาก็ยังหยิบกระดาษลอกลายมาให้ จนคนเรียกติดปากไปแล้วว่า กระดาษไข ทั้งที่สองแบบนี้ไม่เหมือนกัน ในบทความนี้จะเน้นพูดถึงกระดาษไขแบบ Tracing Paper หากเป็นกระดาษแบบ Tracing Paper กระดาษแบบนี้จะเป็นกระดาษที่ผ่านกระบวนการพิเศษจนได้กระดาษเนื้อโปร่งแสง ความทึบแสงน้อย เน้นใช้กระดาษไขเขียนแบบ A4 ถึง A2 และกระดาษไขคอม 90/95 88cmx50m*AOม้วน* มาทำสำเนาภาพลอกลายได้อย่างแม่นยำและเขียนแบบสำหรับสถาปนิก วิศวกร และอื่นๆ อีกชื่อที่หลายคนเรียกจึงเป็น กระดาษลอกลาย นั่นเองและราคา กระดาษไขประเภทนี้ก็มักจะมีราคาสูงกว่ากระดาษไขแบบอื่นด้วย

3 รูปแบบกระบวนการผลิตกระดาษไข (Tracing Paper)

อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า ถึงแม้จะชื่อ กระดาษไข เหมือนกัน แต่วัสดุที่นำมาผลิตและความเหมาะสมในการนำมาใช้งาน (รวมถึงชื่อเรียกภาษาอังกฤษ) ก็อาจต่างกันได้ ส่วนนี้เลยขอมาเล่าเกี่ยวกับกระบวนการผลิตกระดาษไขให้เข้าใจกันมากขึ้นด้วย โดยปกติแล้ว กระดาษไข แบบ Tracing Paper หรือ กระดาษลอกลายมักจะผลิตผ่าน 3 วิธี ดังนี้

1) กลั่นเส้นใยลดโครงสร้างกระดาษ

ปกติกระดาษไขแบบ Tracing Paper มักจะใช้เยื่อซัลไฟต์มาผ่านกระบวนการลดเส้นใย ด้วยการกลั่นเชิงกลของเส้นใยเซลลูโลส เพื่อเอาเฉพาะเส้นใยไฟบริลสูงและเจลาตินมาขึ้นรูปเป็นแผ่นกระดาษ ลดโครงสร้างบางอย่างจนได้กระดาษที่โปร่งแสงและกระดาษมีความหนาแน่น ตั้งแต่ 42 ไปจนถึงมากกว่า 280 g/m2 ลดการดูดซับจากความมันและความชื้นคล้ายกับคุณสมบัติของกระดาษไข

2) ใช้ Vellum มาใช้แทนเส้นใยธรรมชาติ

กระบวนการผลิตนี้เป็นรูปแบบการผลิตกระดาษ ไข แบบดั้งเดิม โดยเปลี่ยนจากวัสดุและกระบวนการทำกระดาษแบบดั้งเดิมมาเป็นการเลือกใช้วัสดุที่สามารถสร้างการดัชนีหักเหแสงได้ใกล้เคียงกับเซลลูโลส ของพืช นั่นก็คือ หนังลูกวัว (Vellum) เป็นหนังสัตว์หรือเยื่อเมมเบรนไปชุบด้วยน้ำและน้ำมะนาวก่อนจะนำไปขัดฟอกจนได้เป็นแผ่น แต่ด้วยความที่ต้นทุนค่อนข้างสูงจนกระดาษไข ราคาสูงมากตามไปด้วย ทำให้วิธีการผลิตแบบนี้ไม่ได้รับความนิยมจนห่างหายไปตามกาลเวลา

3) ใช้กรดซัลฟิวริกกัด

รูปแบบการผลิตคล้ายข้อ 2 แต่จะมีการใช้กรดซัลฟิวริกเพียงไม่กี่วินาที กรดจะเปลี่ยนจากเส้นใยเซลลูโลสบางส่วน ให้มาเป็นรูปแบบของแอมีลอยด์ (amyloid) มีลักษณะคล้ายกับวุ้น แสงผ่านได้ แต่ไม่ละลายน้ำ ความชื้นและความมันซึมผ่านไม่ได้ หลังจากชุบทิ้งไว้ซักพักแล้วก็จะนำไปล้างและตากให้แห้ง ก็จะได้กระดาษไขที่ใกล้เคียงกับกระดาษมาก แต่จะมีความทนทานต่อน้ำ น้ำมัน และก๊าซมากกว่า

กระดาษไข แบบ Tracing Paper ต่างจากกระดาษไขแบบอื่นยังไง

หลังจากเข้าใจการผลิตกระดาษ ไข แบบ Tracing Paper แล้ว มาดูกันต่อดีกว่าว่า กระดาษไข แบบ Tracing Paper ต่างจากกระดาษไขแบบอื่นยังไง

1) กระบวนการผลิตกระดาษไข

กระบวนการผลิตของกระดาษ ไข แต่ละแบบไม่เหมือนกัน อย่างกระดาษไขแบบ Tracing Paper ก็จะมีการผลิตตามแบบที่บอกไปในหัวข้อก่อน คือ เน้นปรับโครงสร้างเส้นใยกระดาษ แต่กระดาษไขแบบอื่น เช่น Waxed paper จะใช้วิธีการเคลือบด้วยไขหลากหลายชนิด เป็นต้น

2) คุณสมบัติของกระดาษ

แม้ว่า กระดาษไข จะมีคุณสมบัติคล้ายกันตรงที่ไม่ทึบแสง เรียบลื่น และไม่ดูดซับความชื้น-ความมัน แต่กระดาษไขแต่ละแบบก็รองรับการใช้งานต่างกัน หากเป็นกระดาษไขเขียนแบบ หรือ Tracing Paper จะเหมาะกับการทาบลอกแบบ ควรค่าแก่การนำไปลอกลาย และบางแบบก็อาจจะไม่มีสารเคลือบเลยเอาไปใช้งานกับพวกเครื่องพิมพ์ได้ แต่ถ้าเป็นกระดาษไขแบบอื่นอาจจะมีความลื่นหรือมีความมันติดผิวกระดาษเล็กน้อยจะเหมาะกับการทำขนมมากกว่า

3) กระดาษไข ราคาต่างกัน

ด้วยความที่กระดาษไขเขียนแบบมักจะต้องใช้กระบวนการผลิตแบบละเอียดผ่านเทคโนโลยีขั้นสูง ราคา กระดาษไข ประเภทนี้เลยมักราคาสูงกว่ากระดาษไขแบบอื่น

4) ขนาดของกระดาษไข

อีกหนึ่งเรื่องที่ช่วยให้แยกความต่างระหว่างกระดาษไขเขียนแบบกับกระดาษไขแบบอื่นได้ก็คือ ขนาดของกระดาษไข จะเป็นขนาดตามมาตรฐานของกระดาษเขียนแบบ โดยขนาดที่เรามักเห็นจำหน่ายเป็นเล่มไว้พร้อมใช้งานก็คือ กระดาษไขเขียนแบบ A4 กระดาษไขเขียนแบบ A3  และกระดาษไขเขียนแบบ A2 แต่หากใช้กับคอมพิวเตอร์จะนิยมใช้ กระดาษไขคอม 90/95 88cmx50m*AOม้วน*

5) สถานที่จำหน่ายกระดาษไข

หากใครกลัวซื้อผิดพลาดแนะนำให้ดูวัตถุประสงค์ว่า จะซื้อกระดาษไขไปใช้ทำอะไรก่อนถามว่า กระดาษไข ซื้อ ที่ไหน แล้วเข้าไปซื้อในร้านจำหน่ายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง หากจะซื้อไปทำขนมอบก็เข้าร้านจำหน่ายอุปกรณ์ทำขนม แต่หากจะเอาไปใช้ทำงานศิลปะ ออกแบบ เขียนแบบ ทำงานช่าง วิศวกร สถาปนิก แนวนี้ให้เข้าร้านจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเขียนแทน

กระดาษไข ใช้ทำอะไรได้บ้าง

หลังจากทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระดาษไข แบบ Tracing Paper กันมาพอสมควรแล้ว สงสัยกันไหมว่า กระดาษไข ใช้ทำอะไรได้บ้าง ถ้าอยากรู้เดี๋ยวเราจะมาไขข้อสงสัยไปพร้อมกัน

1) ร่างแบบต้นฉบับ

ไม่จำเป็นเลยว่า คุณจะต้องเริ่มออกแบบจากกระดาษแผ่นทึบแสง เพราะกระดาษไขก็สามารถเป็นจุดเริ่มต้นในการร่างแบบได้ แถมถนอมพวกหัวดินสอกราไฟต์ ปากกา หรือพู่กันมากกว่ากระดาษแบบอื่นด้วย

2) คัดลอกภาพได้อย่างแม่นยำ

หนึ่งในประโยชน์หลักของกระดาษไขก็คือ การคัดลอกภาพจากต้นฉบับสู่กระดาษไข สามารถเก็บรายละเอียดได้อย่างแม่นยำ ด้วยคุณสมบัติโปร่งแสงสามารถเห็นภาพทะลุผ่านกระดาษได้ง่ายกว่ากระดาษประเภทอื่น

3) ทำแพทเทิร์นผ้าก่อนลงมือเย็บจริง

สำหรับใครที่เป็นแฟชั่นดีไซเนอร์ หรือต้องทำงานเกี่ยวกับตัดเย็บ บางทีก็จะมีการหยิบกระดาษลอกลายไว้ใช้ขึ้นแพทเทิร์นผ้าก่อนลงงานกับผ้าจริงก็ได้เหมือนกัน ทำให้มองเห็นง่ายเย็บตามได้ถูกต้องด้วย

4) ปรับสมดุลไฟให้นุ่มนวล

ใครที่เคยเห็นวิดีโอคนทำ DIY ไฟแบบ Soft box จะเห็นว่า มีการหยิบกระดาษไขมาเป็นวัสดุหลัก เพราะกระดาษไขนี่แหละที่ปรับสมดุลไฟให้แสงนุ่มนวลละมุนตา ถ่ายออกมาภาพสวยมากขึ้นได้

5) ทำลายฉลุในการพิมพ์แบบ Manual ดั้งเดิม

ด้วยความที่กระดาษไขไม่ดูดซับความชื้น ความมัน และหมึกบางประเภท ในอดีตเลยมีการนำกระดาษไขไปทำลายฉลุแล้วเป็นต้นฉบับในการพิมพ์สำเนากับเครื่องพิมพ์แบบ Manual ประมาณระบบการพิมพ์แบบโรเนียวนั่นแหละ

6) นำไปใช้ประโยชน์แบบ DIY ภายในบ้านได้สารพัดสิ่ง

นอกจากจะนำกระดาษไขไปใช้ประโยชน์ตาม 4 ข้อข้างต้นแล้ว ยังสามารถหยิบกระดาษไขไปใช้ DIY ได้สารพัดประโยชน์ เช่น ตัดเป็นรูปทรงมาวางใต้เชิงเทียน เพื่อป้องกันผ้าปูโต๊ะจากเทียน, แปะไว้ตามเครื่องมือภายในครัว เพื่อรักษาความสะอาดให้เหล่าเครื่องมือเหล่านั้น, ถ้าไม่อยากปิดฝาหม้อจนไม่มีอากาศออกก็สามารถตัดกระดาษไขมาใช้แทนฝาหม้อได้ เป็นต้น

แม้ชื่อของ ‘กระดาษไข’ จะถูกหยิบไปเรียกบ่อยจนทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสนบ้าง แต่เชื่อว่า หากได้อ่านบทความนี้จนจบ ผู้ใช้งานหรือผู้ที่กำลังสนใจกระดาษไข แบบ Tracing Paper อยู่จะต้องเลือกกระดาษได้ถูกต้องและหยิบไปใช้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแน่นอน

Main Menu