ผู้ประกอบการต้องอ่าน! 5 ขั้นตอนทำให้องค์กรกลายเป็น Green Industry

ผู้ประกอบการต้องอ่าน! กับ 5 Step ที่จะทำให้องค์กรของคุณกลายเป็น Green Industry

ผู้ประกอบการต้องอ่าน! กับ 5 Step ที่จะทำให้องค์กรของคุณกลายเป็น Green Industry

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในสมัยนี้ผู้ประกอบการหลายๆ คน เริ่มอยากจะทำให้องค์กรของตนเองนั้นได้กลายเป็น Green Industry แบบเต็มตัว เพื่อปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่ใส่ใจสภาพแวดล้อมมากยิ่งขึ้น แต่! ก็มีคำถามตามมาว่าแล้วจะต้องอย่างไรถึงจะไปได้ถึงจุดนั้น เพราะฉะนั้นในบทความนี้เราจะพาคุณไปพบกับ 5 Step ที่จะทำให้องค์กรของคุณได้กลายเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวหรือ Green Industry กัน รับรองเลยว่าถ้าคุณได้ปฏิบัติตามทั้ง 5 Step ที่เรากำลังจะกล่าวถึงนั้น การเป็นองค์กรหรือโรงงาน Green Industry จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป!

Green industry คืออะไร ?

ก่อนที่คุณจะไปพบกับ 5 Step ของการเป็นองค์กร Green Industry นั้น เราอยากจะพาคุณไปรู้จักกับความหมายของ Green Industry กันเสียก่อน! Green Industry หรือ อุตสาหกรรมสีเขียว คือการดำเนินธุรกิจที่ยึดมั่นต่อการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาและการปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด อีกทั้งต้องประกอบกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวมทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

หัวใจสำคัญของ Green Industry

1.การพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต

2.การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

3.ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร (ตลอดห่วงโซ่อุปทาน)

5 Step จะทำให้องค์กรของคุณกลายเป็น Green Industry ได้อย่างเต็มตัว

กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำเกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมได้มีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อเข้าสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวไว้ 5 ระดับ ดังนี้…

ผู้ประกอบการต้องอ่าน! กับ 5 Step ที่จะทำให้องค์กรของคุณกลายเป็น Green Industry

หลักเกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 1 : ความมุ่งมั่นสีเขียว (GREEN COMMITMENT)

ข้อ 1 องค์กรต้องกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งครอบคลุมถึงความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันมลพิษ การปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

ข้อ 2 ต้องมีการสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้บุคลากรในองค์กรทุกคนรับทราบ

หลักเกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 2 : ปฏิบัติการสีเขียว (GREEN ACTIVITIES)

ข้อ 1 กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และการสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้บุคลากรในองค์กรรับทราบ

ข้อ 2 องค์กรต้องจัดทำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม เช่น เรื่องการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือการป้องกันมลพิษ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและอย่างยั่งยืน การลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติ โดยแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมนั้น จะต้องประกอบด้วยวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ขั้นตอนการปฏิบัติ ผู้รับผิดชอบ และกรอบระยะเวลาแล้วเสร็จ

ข้อ 3 นำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติให้เกิดผล

หลักเกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 : ระบบสีเขียว (GREEN SYSTEM)

ข้อ 1 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 

ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งต้องครอบคลุมถึงความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการ

ข้อ 2 วางแผนด้านสิ่งแวดล้อม 

องค์กรต้องจัดทำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยแผนงานต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบในทุกระดับและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อ และกำหนดวิธีการและระยะเวลาแล้วเสร็จ

ข้อ 3 การนำไปปฏิบัติ 

ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อเริ่มปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ 

ข้อ 4 ติดตาม ประเมินผล 

องค์กรต้องจัดทำขั้นตอนการดำเนินงานในการเฝ้าติดตามและคอยประเมินผลอยู่เสมอๆ 

ข้อ 5 ทบทวนและรักษาระบบ 

ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องทบทวนระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมยังคงมีความเหมาะสม และเกิดประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง

หลักเกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 : วัฒนธรรมสีเขียว (GREEN CULTURE)

ข้อ 1 ต้องจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามระดับที่ 3 ทุกข้อ

ข้อ 2 สร้างวัฒนธรรมองค์กรตามแนวทาง SR (ISO 26000)

ข้อ 3 รายงานเผยแพร่ต่อสาธารณะ

ข้อ 4 องค์กรต้องเคารพ พิจารณา และตอบสนองต่อผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย ด้านประเด็นสิ่งแวดล้อม

ข้อ 5 ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม

ข้อ 6 องค์กรต้องเคารพต่อการปฏิบัติตามแนวทางสากลในด้านสิ่งแวดล้อม

ข้อ 7 องค์กรต้องเคารพต่อสิทธิมนุษยชนในด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี

ข้อ 8 องค์กรต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเปิดเผยต่อสาธารณะ

หลักเกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 5 : เครือข่ายสีเขียว (GREEN NETWORK)

ข้อ 1 ต้องจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและมีวัฒนธรรมสีเขียวตามระดับที่ 4 ทุกข้อ

ข้อ 2 องค์กรต้องดำเนินการส่งเสริม สร้าง และสานสัมพันธ์กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้มีส่วนได้เสีย (Stake holder) ที่ครอบคลุมทั้ง ห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ชุมชน และผู้บริโภค และต้องทำให้ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ข้อ 3 รายงานความสำเร็จเผยแพร่ต่อสาธารณะ

เอกสารที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องจัดเตรียมในการยื่นเรื่องขอเป็น Green Industry

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการยื่นเรื่องให้องค์กรของตนได้กลายเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว หรือ Green Industry แบบเต็มตัว ก็ให้คุณจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ดังต่อไปนี้…

การยื่นขอระดับอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 1

1.เอกสารการประกาศนโยบาย

2.หลักฐานการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม เช่น บันทึกการประชุม ภาพถ่าย

3.การติดประกาศ หรือหลักฐานอื่นใด

การยื่นขอระดับอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 2

การยื่นขอระดับอุตสาหกรรมสีเขียวในระดับที่ 2 นี้ จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

  1. กรณีผู้สมัครได้รับการรับรองโครงการ/กิจกรรมเปรียบเทียบในระดับที่ 2

     1.1 กรณีใบรับรองหรือประกาศนียบัตรกำหนดวันสิ้นอายุ ณ วันที่ยื่นสมัคร ต้องไม่สิ้นอายุ

     1.2 กรณีใบรับรองหรือประกาศนียบัตรไม่กำหนดวันสิ้นอายุ หรือสิ้นอายุแล้ว ต้องมีเอกสาร/หลักฐานที่สามารถแสดงได้ว่าองค์กรยังรักษาและคงไว้ซึ่งการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม


2. กรณีผู้สมัครไม่ได้รับการรับรองโครงการ/กิจกรรม

     2.1 เอกสารการประกาศนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และหลักฐานการสื่อสาร

     2.2 แผนงานด้านสิ่งแวดล้อม

     2.3 เอกสาร/หลักฐาน/สรุปผลความสำเร็จการดำเนินงานตามแผนอย่างน้อย 1 กิจกรรมหรือ 1 โครงการ

การยื่นขอระดับอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3

กรณีผู้สมัครได้รับการรับรองโครงการ/กิจกรรมเปรียบเทียบในระดับที่ 3

1.กรณีใบรับรองหรือประกาศนียบัตรกำหนดวันสิ้นอายุ ณ วันที่ยื่นสมัครต้องยังไม่สิ้นอายุ

  1. กรณีใบรับรองหรือใบประกาศนียบัตรไม่กำหนดวันสิ้นอายุ หรือสิ้นอายุแล้ว ต้องมีเอกสาร/หลักฐานที่สามารถแสดงได้ว่าองค์กรยังรักษาและคงไว้ซึ่งการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

การยื่นขอระดับอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4

  1. ใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 หรือใบรับรองหรือประกาศนียบัตรของโครงการ/กิจกรรมที่เปรียบเทียบในระดับที่ 3
  2. รายงานการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม
  3. รายงานผลการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่เปิดเผยต่อสาธารณะ

การยื่นขอระดับอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 5

การยื่นขอระดับอุตสาหกรรมสีเขียวในระดับที่ 5 นี้ จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

1.กรณีได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 ยื่นเอกสาร

1.1ใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4

1.2รายงานการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม สร้างและสานสัมพันธ์กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้มีส่วนได้เสียและสรุปรายงานผลสำเร็จเพื่อเผยแพร่

2.กรณียังไม่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 ยื่นเอกสาร

2.1 ใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 หรือใบรับรอง/ประกาศนียบัตรของโครงการที่เทียบเท่าระดับที่ 3

2.2 รายงานการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม

2.3 รายงานผลการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ

2.4 รายงานการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม สร้าง และสานสัมพันธ์กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้มีส่วนได้เสียและสรุปรายงานผลสำเร็จเพื่อเผยแพร่

อายุการรับรองและการต่ออายุโครงการโรงงานสีเขียว หรือ Green Industry

ระดับที่ 1 อายุการรับรอง 1 ปี ไม่สามารถต่ออายุระดับเดิมได้

ระดับที่ 2 อายุการรับรอง 2 ปี สามารถต่ออายุระดับเดิมได้ แต่ต้องเปลี่ยนกิจกรรมใหม่

ระดับที่ 3-5 อายุการรับรอง 3 ปี สามารถต่ออายุระดับเดิมได้

 รายละเอียดที่เราได้กล่าวไปนั้นเป็นรายละเอียดและ 5 Step การเป็น Green Industry ที่ผู้ประกอบการทุกคนควรรู้! ซึ่งอย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมสีเขียวจะกลายเป็นส่วนช่วยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในอนาคตให้เป็นไปอย่างยั่งยืนและมั่นคง ตลอดจนเป็นการรักษา ฟื้นฟูและคงไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย!  

Main Menu