ลวดเย็บแบบต่าง ๆ – All About Stapler

ลวดเย็บแบบต่าง ๆ – All About Stapler

ลวดเย็บแบบต่าง ๆ

หลังจากที่เราได้รู้ประวัติของเครื่องเย็บไปในตอน เครื่องเย็บเริ่มต้นอยู่ในราชสำนัก ตัวลวดเย็บก็เป็นสิ้นค้าอีกชนิดหนึ่งที่คิดค้นและผลิตออกมาพร้อม ๆกัน คงเป็นไปไม่ได้ที่จะผลิตเครื่องเย็บโดยที่ไม่มีลวดเย็บ แล้วลวดเย็บแต่ละแบบนั้นต่างกันอย่างไร เหมาะสำหรับงานแบบไหน เราควรที่จะใช้ลวดเย็บแบบไหน และควรดูไรบ้างเพื่อมาประกอบกับการตัดสินใจในการซื้อลวดเย็บ

ส่วนต่าง ๆ ของลวดเย็บ

ลวดเย็บส่วนใหญ่ประกอบด้วยส่วนปลาย ส่วนขา และส่วนหลัง โดยตัวลวดส่วนหลังคือส่วนที่อยู่ด้านบนสุด เป็นส่วนที่เรียบ ส่วนขาคือส่วนที่งอลงมาทั้ง 2 ข้าง เมื่อทำการเย็บ ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่พับขึ้นมา ส่วนสุดท้ายคือส่วนปลาย ส่วนนี้จะมีความเล็ก บางแบบก็มีความแหลม ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เจาะลงไปบนพื้นผิว ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ บอร์ด หรือว่าไม้ เมื่อพูดถึงความกว้างของลวดเย็บ ส่วนใหญ่จะหมายถึงความกว้างของส่วนหลังของลวดเย็บ ความยาวนั้นจะหมาถึงความยาวของส่วนขาของตัวลวดเย็บ ความยาวของส่วนขาของลวดเย็บนั้นเป็นข้อมูลที่สำคัญ เนื่องจากหากความหนาของกระดาษนั้นมาก ความยาวของลวดเย็บก็จะมีผลต่อการยึดกระดาษของตัวลวดเย็บ

ลวดเย็บแบบต่าง ๆ – All About Stapler

ความหนาของตัวลวด

ความหนาของลวดเย็บนั้นมีอยู่หลัก ๆ 3 ความหนา 1 คือแบบบาง ลวดเย็บแบบบางนั้นจะมีลวดที่เส้นเล็ก สวยงาม ลวดเย็บส่วนใหญ่ที่ใช้กันในออฟฟิศ มักจะเป็นลวดเย็บแบบบางนี้ และสำหรับงานไม้ การใช้ลวดเย็บแบบบางนั้นก็จะทำให้งานออกมาสวยงามเนื่องจากจะมองไม่ค่อยเห็น หรือการเย็บผ้าหรือผ้าใบ การใช้ลวดเย็บแบบบางก็จะทำให้งานออกมาสวยงามมากขึ้น นอกจากสวยงามแล้ว ลวดแบบบางยังทำให้เมื่อแกะออกแล้วจะไม่ทิ้งรอยใหญ่ ถัดมาคือลวดเย็บความหนาขนาดกลาง ด้วยความที่ลวดหนาขึ้น จึงทำให้ความสามารถในการยึดนั้นมีมากขึ้นไปด้วย แต่ก็ยังหนาไม่พอสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง ลวดเย็บความหนาขนาดกลาง เหมาะสำหรับงานเย็บ เฟอร์นิเจอร์ พาเลท หรือกล่องบรรจุภัณฑ์ และสุดท้ายคือลวดเย็บสำหรับงานหนัก (Heavy Duty) ตัวลวดจะมีความหนามากที่สุด เหมาสำหรับงานหนัก ไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้าง งานหลังคา งานโครงเฟอร์นิเจอร์ หรืองานแพ็คกิ้งขนาดใหญ่ก็สามารถใช้ลวดเย็บขนาดพิเศษนี้ได้

ลวดเย็บแบบต่าง ๆ – All About Stapler

ความแตกต่างของแต่ละส่วนของลวดเย็บ

ส่วนหลังของลวดเย็บก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ต้องนำมาใช้ให้ถูกกับงาน เพราะความกว้างนั้นก็มีผลกับการยึดติดกับพื้นผิว อีกทั้งส่วนหลังนี้ไม่ได้มีแต่แบบตรงที่เป็นพื้นผิวเรียบ ๆ แต่ยังมีแบบโค้งที่ไว้ใช้กับงานยึดติดสายไฟ  โดยลวดเย็บหลังแบบกลม มักจะเป็นลวดเย็บที่มีส่วนหลังเล็กและสั้นที่สุด ลวดเย็บที่หลังแคบ มักจะมีขาที่ยาว และเหมาะกับงานที่ต้องการความสวยงาม หรือต้องการที่จะซ่อนลวดเย็บ ลวดเย็บที่หลังกว้างขึ้นมา ก็จะเหมาะกับการครอบคลุมพื้นผิวที่มากขึ้น

ส่วนขาของลวดเย็บก็เป็นส่วนที่สำคัญมากเช่นกัน ส่วนขาคือส่วนที่จะฝังเข้าไปในพื้นผิว ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ หรือพื้นผิวที่แข็งอย่างไม้ ยิ่งส่วนที่เราต้องการจะเย็บนั้นมีความหนามาหเท่าไหร่ เราก็ต้องการให้ขาของลวดเย็บนั้นยาวขึ้นเท่านั้น การเลือกขาที่ใช้นั้นเราต้องรู้ว่าวัสดุที่เราจะเย็บนั้นเป็นวัสดุแบบไหน มีความหนาเท่าไหร่ โดยปรกติความยาวของขาลวดเย็บ จะเท่ากับ 3 เท่าของความหนาของสิ่งที่เราจะเย็บเข้าด้วยกัน เช่นแผ่นไม้มีความหนา 6 มิลลิเมตร เราต้องใช้ลวดที่มีความยาวขา 18 มิลลิเมตร ซึ่งในที่นี้เราควรจะใช้ลวดขนาด 23/18 ถ้าเป็นการเย็บวัสดุบาง ๆ อย่างเช่นผ้า ความยาวของขาลวดควรจะยาวกว่าตัววัสดุนั้นอี 4 มิลลิเมตร เช่น ดระดาษมีความหนา 2 มิลิเมตร ความยาวของลวด ควรจะยาว 6 มิลลิเมตร สุดท้ายถ้าเป็นวัสดุที่แข็ง เช่นไม้เนื้อแข็ง ความยาวของขาควนจะเป็น 2 เท่าของวัสดุนั้น เช่น ไม่เนื้อแข็งความหนา 5 มิลิเมตร ควรใช้ลวดเย็บที่ความยาวขา 10 มิลลิเมตร แล้วเราจะดูยังไงว่าความยาวขาลวดนั้นเท่าไหร่ โดยปรกติ บนกล่องลวดเย็บจะมีตัวเลขระบุ เช่น 23/10 ตัวเลขตัวหน้าจะระบุความหนาของตัวลวด โดยยิ่งตัวเลขสูงยิ่งหมายถึงตัวลวดที่บาง ในตัวอย่าง ความหนาขนาด 23 นั้นถือว่าเป็นลวดที่ค่อนข้างบางแล้ว โดยลวบบางจะมีความหนาอยู่ที่ 20 ขึ้นไป ความหนาขนาดกลางจะอยู่ที่ 18-19 และลวดขนาดใหญ่จะมีความหนาอยู่ที่ 10-16 ตัวเลขด้านหลังของ 23/10 คือเลขความยาวของขาลวดเย็บ ตามตัวอย่าง 23/10 นั้น ความยาวของขาลวดคือ 10 มิลลิเมตร   

บางพลีสเตชั่นเนอรี่ จำหน่ายลวดเย็บหลากหลายขนาดและหลากหลายยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นลวดเย็บสำหรับใช้ในออฟฟิศ หรือลวดเล็บสำหรับการเย็บลัง โดยมีหลายยี่ห้อไม่ว่าจะเป็น ลวดเย็บ Max ลวดเย็บ Titania ตราช้าง ลวดเย็บตราม้า ลวดเย็บ Aroma ลวดเย็บ Plus หรือลวดเย็บลัง Rupo มีขนาดและความยาวให้เลือกหลากหลาย ให้ลูกค้าของ บางพลีสเตชั่นเนอรี่ได้ใช้สินค้าคุณภาพ และตรงกับรูปแบบการใช้งานที่สุด  

ลวดเย็บแบบต่าง ๆ – All About Stapler

Main Menu