กระดาษพิมพ์เขียว (Plotter Paper) คืออะไร ใช้ทำอะไร

กระดาษพิมพ์เขียว (Plotter Paper) คืออะไร ไว้ใช้ทำอะไร

เวลาเปิดโทรทัศน์ไปเห็นโฆษณาหรือฉากในหนังที่มีวิศวกรหรือนายช่างโผล่มา เรามักจะเห็นพวกเขาถือเอกสารหันเต็มมือ หนึ่งในนั้นก็คือ กระดาษพิมพ์เขียว (แต่ดันเป็นสีฟ้าเหมือนมีลายเส้นสีขาวแล้วทำไมถึงเรียกพิมพ์เขียวล่ะ?) บทความนี้เลยขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ กระดาษพิมพ์เขียว (Plotter Paper) กันว่า กระดาษ พิมพ์เขียว หรือ กระดาษ พ ล็ อ ต เตอร์ คืออะไร และนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง

พิมพ์เขียว (Blueprint) คืออะไร

ก่อนจะไปทำความรู้จักกับ กระดาษพิมพ์เขียว หรือ กระดาษ Plotter มาดูกันก่อนดีกว่าว่า พิมพ์เขียว (Blueprint) คืออะไร เผื่อจะเข้าใจกระดาษพิมพ์เขียวกันมากขึ้น

‘พิมพ์เขียว’ ตามราชบัณฑิตยสถาน คือ พิมพ์สำเนาโดยการฉายแสงผ่านต้นฉบับที่เป็นกระดาษบางๆ ลงบนกระดาษที่เคลือบสารเคมีซึ่งไวต่อแสง ให้ปรากฏเป็นลวดลายสีขาวบนพื้นสีนํ้าเงินหรือลวดลายสีนํ้าเงินบนพื้นขาว นอกจากนี้คำว่า พิมพ์เขียว ยังเอาไว้ใช้เรียกแทนคำว่า ‘ต้นฉบับ’ ที่เตรียมโครงร่างไว้เตรียมใช้เป็นแนวทางต่อไปได้ด้วย เช่น พิมพ์เขียวกฎหมาย เป็นต้น

แต่คำว่า ‘พิมพ์เขียว’ ที่เราจะพูดถึงในบทความนี้ก็คือแบบเดียวกับที่ราชบัณฑิตยสถานกำหนดไว้นั่นล่ะ แค่จะขออธิบายให้เข้าใจกันมากขึ้น พิมพ์เขียว คือ หลังจากร่างต้นฉบับลงบนกระดาษไขจะมีการฉายแสง Ultraviolet จากแสงแดดหรือหลอดยูวี ให้แบบจำลองบนกระดาษไขเกิดสำเนาลงบนกระดาษเคลือบสารเคมีที่มีลักษณะคล้ายฟิล์มไวแสงจนลายเส้นปรากฏลงบนกระดาษพิมพ์เขียว ทำให้ผลิตสำเนาจำนวนมากได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ มักใช้การพิมพ์แบบนี้ในการทำแบบจำลองทางเทคนิคหรือทางวิศวกรรม เพราะเป็นหนึ่งในเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ยื่นขออนุญาตก่อสร้างและเป็นต้นแบบในการก่อสร้าง โดยปกติแล้วจะเป็นลายเส้นสีขาวบนกระดาษสีน้ำเงินหรือลายเส้นสีน้ำเงินบนกระดาษสีขาว

กระดาษพิมพ์เขียว คืออะไร

กระดาษพิมพ์เขียว คือ กระดาษที่ฉาบด้วยสารประกอบพิเศษที่ทำให้กระดาษมีความไวต่อแสง เช่น Hexacyanoferrate (III) ไอออนและไอร์ออน (III) ไอออน เมื่อถูกแสงแดดจะเกิดปฏิกิริยาถูกรีดิวซ์ (Reducing agent) โดย Citrate Ion ได้เป็นสารสีน้ำเงิน บริเวณที่มีลายเส้นเป็นหมึกหรือรอยดินสอจะคอยป้องกันไม่ให้ยูวีลงไปสัมผัสกับผิวของกระดาษที่เคลือบสารเคมีจึงทำให้ส่วนที่ได้รับแสง UV เกิดการเปลี่ยนสี และส่วนที่ไม่โดน UV หรือสัมผัส UV น้อยก็จะยังคงเป็นสีเดิม ใช้ในการอัดสำเนาแบบแปลนก่อสร้าง แต่ต่อมาก็เริ่มมีการแทนที่ด้วยกระบวนการพิมพ์ขาว โดยใช้ diazo แทน ก่อนจะเริ่มหันมาพัฒนามาเป็นการใช้เครื่องถ่ายเอกสารขนาดใหญ่

เหตุผลที่เรียกกระดาษพิมพ์เขียวทั้งที่เป็นสีน้ำเงิน

อีกหนึ่งข้อสงสัยที่มีคนหยิบมาถามบ่อยๆ ก็คือ เห็นชื่อกระดาษพิมพ์เขียวนึกว่า จะเป็นสีเขียว แต่ทำไมถึงเป็นสีน้ำเงินแทน เรื่องนี้อาจจะต้องย้อนกลับไปยังอดีต สมัยนั้นชื่อสีให้เรียกยังมีไม่ค่อยเยอะ (และถ้าพูดชื่อไปบางทีอาจจะไม่คุ้นหูคนสมัยนี้ก็ได้ เช่น ชาด คราม ฯลฯ) แน่นอนว่า ชื่อของ น้ำเงิน ในตอนนั้นก็ยังไม่มีและสีก็ออกน้ำเงินอมเขียวนิดๆ ด้วย เลยกลายเป็นว่า เรียกกระดาษพิมพ์เขียวนี่แหละง่ายดี เข้าใจตรงกัน คนก็เลยเรียกกระดาษพิมพ์เขียว ทั้งที่ชื่อภาษาอังกฤษก็ตรงตัวว่า Blueprint หรือสีน้ำเงินนี่ล่ะ

ความแตกต่างของกระดาษพิมพ์เขียว 3 ชนิด

แม้การใข้กระดาษพิมพ์เขียวอาจไม่ได้รับความนิยมแพร่หลายในปัจจุบัน แต่ก็ยังคงถือเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้อยู่ โดยเฉพาะเหล่าช่างฯ และวิศวกร ในไทยจึงมีกระดาษพิมพ์เขียวให้เลือกใช้งานถึง 3 แบบ ดังนี้

1)  กระดาษพิมพ์เขียว แบบแอมโมเนีย

กระดาษพิมพ์เขียว แบบแอมโมเนีย เป็นกระดาษพิมพ์เขียวที่ได้รับความนิยมสูงสุด เวลาช่างหรือวิศวกรจะใช้เขียนแบบก็มักจะใช้กระดาษพิมพ์เขียวชนิดนี้ โดยจะใช้ไอของแอมโมเนียทำให้เกิดภาพเป็นกระบวนการแบบแห้ง (Dry Process) ระหว่างใช้งานอาจมีกลิ่นแอมโมเนียกวนใจบ้าง แต่มีข้อดีที่แห้งไวมาก เกิดภาพได้ทันที

2) กระดาษพิมพ์เขียว แบบน้ำยา

กระดาษพิมพ์เขียว แบบเคลือบน้ำยา เป็นกระดาษพิมพ์เขียวที่ไม่มีกลิ่นกวนใจ แต่กว่าภาพจะโผล่ขึ้นมาก็ใช้เวลาพอสมควร เกิดภาพช้า ต้องรอให้แห้งถึงจะเห็นภาพเต็มแผ่น บางครั้งอาจต้องผ่านห้องอบกระดาษก่อน และอายุการใช้งานก็น้อยกว่ากระดาษพิมพ์เขียวชนิดอื่นด้วย 

3) กระดาษพิมพ์เขียว แบบพีดี

กระดาษพิมพ์เขียว แบบพีดี มาจากคำว่า Pressure Diazo Process มีการใช้ Diazo และ Coupler แล้วใช้สารประกอบ Amine เป็นตัวทำละลาย  หลังจากผ่านน้ำยาและรีดเอาน้ำยาส่วนเกินออกรอให้แห้งแล้วถึงจะปรากฏภาพ เป็นอีกวิธีที่แห้งค่อนข้างไวและขั้นตอนไม่มาก เพียงแค่อาจจะรอนานกว่ากระดาษพิมพ์เขียวชนิดแรก และต้องระวังไม่ให้สารกัดผิวขณะทำภาพพิมพ์เขียว ส่วนอายุการใช้งานก็พอๆ กับแบบแอมโมเนียเหมือนกัน

วิธีทำแบบพิมพ์เขียว

หลังจากทำความใจกันแล้วว่า กระดาษพิมพ์เขียวคืออะไร และมีกี่ชนิด แต่รู้หรือไม่? ปัจจุบันกระบวนการทำพิมพ์เขียวก็สามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้

1) ใช้ UV จากธรรมชาติ

เชื่อว่า ถ้าอ่านมาจากจุดเริ่มต้นจนมาถึงจุดนี้ หลายท่านคงพอเดาได้ว่า กระดาษพิมพ์เขียวถูกใช้มาอย่างยาวนานตั้งแต่ยังไม่ค่อยมีเทคโนโลยีเกี่ยวกับการพิมพ์ซักเท่าไหร่ (ประมาณปลายทศวรรษ 1890) เพราะงั้นวิธีการแรกที่ยังคงพอใช้ได้จากอดีตถึงปัจจุบันก็คือ การใช้ UV จากธรรมชาติ ด้วยการทำสำเนาลวดลายลงบนกระดาษไข (หรือที่เข้าใจในชื่อของ กระดาษลอกลาย) แล้วนำกระดาษแผ่นนั้นไปขึงกับกระดาษพิมพ์เขียวในอุปกรณ์ที่คล้ายกรอบรูป โดยให้กระดาษลอกลายอยู่ด้านบนและกระดาษพิมพ์เขียวอยู่ด้านล่าง เอาไปวางช่วงมีแดด ประมาณ 1-2 นาที หรือประมาณ 10 นาที ในช่วงมีเมฆครึ้ม

2) ใช้เครื่องพิมพ์เขียวดิจิทัล

ปัจจุบันก็มีเครื่องพิมพ์เขียวแบบดิจิทัลด้วยเหมือนกัน โดยผู้ออกแบบสามารถเขียนแบบได้ผ่านโปรแกรมแล้วสั่งพิมพ์ออกมาผ่านเครื่องพิมพ์เขียวได้ตามต้องการคล้ายกับ Printer ทั่วไป ทำให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้สะดวก รวดเร็ว และแม่นยำ เพียงแค่อาจจะต้องเลือกขนาดของกระดาษพิมพ์เขียวให้เหมาะกับเครื่องและการใช้งานของแต่ละบุคคล เช่น กระดาษ พ ล็ อ ต เตอร์ a1, กระดาษพิมพ์เขียวFM11 42mx20หลา, กระดาษพิมพ์เขียว FM11 60mx20y และ กระดาษพิมพ์เขียว FM11 120cmx20y เป็นต้น

กระดาษพิมพ์เขียวใช้ทำอะไรได้บ้าง

ด้วยความที่การใช้งานพิมพ์เขียวเป็นวิธีค่อนข้างเฉพาะ เชื่อว่า น่าจะมีอีกหลายคนที่สงสัยว่า แล้วกระดาษพิมพ์เขียวสามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง เราเลยเก็บคำตอบมาฝากด้วยเช่นกัน

1) ทำเอกสารแบบแปลนบ้าน

หนึ่งในเอกสารที่ต้องยื่นเวลาขออนุญาตจากทางภาครัฐก็คือ แบบแปลนจากกระดาษพิมพ์เขียวนี่ล่ะ เพราะสามารถตรวจเช็คและประเมินแบบได้สะดวก รวมถึงวิศวกรก็สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น หากมีปัญหาตรงแก้ไขก็ปรับได้ง่าย รวดเร็ว และแม่นยำ

2) เอกสารยื่นขออนุญาตราชการอื่นๆ

ไม่ใช่แค่เฉพาะแบบแปลนบ้าน แต่เอกสารบางประเภท เช่น แบบสถาปัตยกรรม แบบวิศวกรรมโครงสร้าง แบบระบบไฟฟ้า และแบบระบบสุขาภิบาล ที่จำเป็นต้องยื่นขออนุญาตจากทางภาครัฐมักจำเป็นต้องใช้กระดาษและวิธีแบบพิมพ์เขียวทั้งสิ้น (บางครั้งอาจนำไปใช้ประกอบการยื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคารหรือสถาบันการเงินด้วยก็ได้)

3) ใช้ในการทำสำเนาเอกสาร

นอกจากกระดาษพิมพ์เขียวจะจำเป็นต่อการใช้ทำเอกสารยื่นขออนุญาตจากทางภาครัฐแล้ว ยังสามารถนำกระดาษพิมพ์เขียวไปใช้ประโยชน์ในเรื่องของการทำสำเนาเอกสารได้หลากหลายรูปแบบคล้ายกับการถ่ายเอกสารเลยล่ะ แต่ที่เห็นว่า ใช้กระดาษพิมพ์เขียวมาทำสำเนาบ่อยสุดคงจะหนีไม่พ้นหน่วยงานและองค์กรภาครัฐ กลุ่มช่างสถาปนิกและวิศวกร รวมถึงองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่อื่นๆ

 

แม้การใช้กระดาษพิมพ์เขียวจะมีมาอย่างยาวนาน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า กระดาษหรือกระบวนการพิมพ์เขียวจะเป็นวิธีที่ล้าหลังซะเมื่อไหร่ หากยังคงใช้ประโยชน์ได้ดีจวบจนปัจจุบันก็ควรสนับสนุนให้มีการใช้งานต่อไป เพียงแค่อาจจะเลือกวิธีที่ถูกพัฒนามาแล้ว เช่น กระดาษ Plotter คุณภาพสูง แห้งไว ไร้กลิ่นกวนใจ หรือเครื่องพิมพ์เขียวแบบดิจิทัล เพิ่มความสะดวกสบายและแม่นยำมากขึ้น เป็นต้น เพราะงั้นใครที่ยังจำเป็นต้องใช้วิธีพิมพ์เขียวและกระดาษพิมพ์เขียว อย่าลืมทำความเข้าใจกระดาษพิมพ์เขียวตามบทความนี้ แล้วคุณจะสามารถหยิบไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพแน่นอ

Main Menu